Ubiquitous Computing หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต รูปลักษณะของคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในรูปของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน และฝังตัวอยู่ในสรรพสิ่งรอบตัวเรา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันระหว่างอุปกรณ์ผ่านระบบเครือข่ายความเร็วสูง(http://guru.sanook.com/pedia/topic/Ubiquitous_Computing)
หรืออีกความหมายหนึ่ง (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิด สภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด ( http://www.kasidetp.com/e-learning/ICT%20for%20life_files/frame.htm#slide0051.htm)
http://www.oki.com/en/profile/vision/e_society.html
ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้จัดการโครงการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวถึง Ubiquitous Computing ไว้ดังนี้
“Ubiquitous” ถ้าแปลตรงตัวคือ “เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไป” ดังนั้น Ubiquitous Computing ก็คือหน่วยประมวลผลที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ใดก็แล้วแต่ที่อยู่รอบตัวเรา รูปแบบของเทคโนโลยี Ubiquitous Computing มักเน้นไปที่อุปกรณ์ที่ผู้ใช้แทบไม่รู้เลยว่ากำลังใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ในระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อุปกรณ์ประมวลผลที่สามารถผสมผสานกับการดำเนินชีวิตของผู้ใช้โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต
จึงทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้นจนในอนาคตอันสั้นเราอาจกล่าวได้ว่า วิถีการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นจะดำเนินไปได้ด้วยความช่วยเหลือจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบ Ubiquitous Computing เหล่านี้ทั้งหมดเลยก็ว่าได้ แนวคิดของ Ubiquitous Computing ได้ถูกนิยามโดย Mark Weiser ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งถ้าย้อนไปเมื่อยุคสมัยนั้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แทบไม่มีให้พบเห็นสำหรับบุคคลทั่วไปเลย มีใช้กันแต่เพียงบางกลุ่มคนเท่านั้น แต่ Weiser ได้คาดการณ์แนวโน้มของการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในอนาคตตามนิยามของ Ubiquitous Computing ไว้ดังต่อไปนี้
1)อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ใช้ทำการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ดีนั้นเปรียบเสมือนผู้รับใช้ที่ไม่สามารถมองเห็นได้
3) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ควรเพิ่มทักษะและความสามารถให้กับผู้ใช้ในการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ
4) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ดีควรทำงานได้โดยไม่ต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน
จากนิยามข้อแรก เป็นคำนิยามสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องอยู่แล้ว นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการคำนวนทางคณิตศาสตร์
นิยามข้อที่สอง หมายถึง เมื่อเรามีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ก็เปรียบเสมือนเรามีผู้รับใช้ที่ล่องหนได้อยู่ ซึ่งนิยามข้อนี้จะเป็นจริงได้ เมื่อรูปแบบการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คล้ายกับรูปแบบที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารกัน กล่าวคืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะต้องสามารถรับคำสั่งการทำงานได้เสมือนกับมนุษย์ที่รับคำสั่งด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ ของตนได้ การรับคำสั่งโดยการใช้ตาดูสำหรับมนุษย์นั้น สิ่งสำคัญคือการระบุตัววัตถุและทราบถึงตำแหน่งวัตถุนั้นๆ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีในการประมวลผลภาพเข้ามาช่วย ถึงแม้เทคโนโลยีนี้จะมีงานวิจัยให้พบเห็นได้ทั่วไป แต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานจริงจึงมีปรากฏให้พบเห็นไม่บ่อยครั้ง ดังนั้น จึงมีการนำเทคโนโลยีอื่นๆมาประยุกต์ใช้เพื่อทดแทนหรือช่วยในการประมวลผลภาพ อาทิ เทคโนโลยี RFID สำหรับการระบุตัววัตถุ เทคโนโลยี GPS สำหรับการระบุตำแหน่งของวัตถุ เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้งานจริงและมีต้นทุนการใช้งานที่ต่ำกว่า
สำหรับการรับคำสั่งด้วยการฟังนั้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะใช้ไมโครโฟนเป็นสื่อกลางในการรับสัญญาณเสียงจากผู้ใช้งาน ข้อมูลเสียงที่จะเข้ามาในระบบนั้นมีทั้งในรูปแบบของเสียงทั่วไปและรูปแบบของเสียงพูด ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณเสียง โดยอาศัยระบบรู้จำเสียงพูดซึ่งเป็นการนำเอาสัญญาณสเปกตรัมที่ได้จากการแปลงผ่านระบบประมวลผลสัญญาณเสียงมาแปลงให้เป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สำหรับในภาษาอังกฤษมีใช้งานกันอยู่บ้าง เช่น ระบบสั่งงานด้วยเสียงบนโทรศัพท์มือถือบางรุ่น เป็นต้น แต่สำหรับในภาษาไทยมีใช้งานกันในเฉพาะกลุ่มนักวิจัย เช่น ระบบต่อสายโทรศัพท์อัตโนมัติโดยใช้เสียง เป็นต้น แต่ยังไม่พบเห็นในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีการต่อยอดออกสู่เชิงพาณิชย์
นิยามในข้อที่สามนี้ตรงกับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันที่เรียกว่าเทคโนโลยีระบบฝังตัว ซึ่งเป็นการฝังหน่วยประมวลผลขนาดเล็กหรือไมโครโพรเซสเซอร์ลงไปในอุปกรณ์หนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ระบบปรับสมดุลขณะเข้าโค้งที่ฝังตัวอยู่ภายในรถยนต์บางรุ่น ระบบนี้เป็นการฝังหน่วยประมวลผลซึ่งจะรับคำสั่งจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ความเร็ว สภาพพื้นผิวของถนน เป็นต้น
สำหรับในนิยามข้อสุดท้ายซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของเทคโนโลยี Ubiquitous Computing เนื่องจากเป็นการหลอมรวมเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าไปไว้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมนุษย์ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้เลย ซึ่งเทคโนโลยีในหัวข้อนี้จะต้องผนวกรวมเอาเทคโนโลยีสำหรับการรับคำสั่งที่กล่าวมาทั้งหมด ประกอบกับการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการตัดสินใจว่าควรจะโต้ตอบกับผู้ใช้อย่างไรได้โดยอัตโนมัติ เช่น ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ
จากนิยามทั้ง 4 ของ Weiser แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ประมวลผล ที่มุ่งไปสู่การอำนวยความสะดวกและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ ดังนั้นการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมในปัจจุบัน จึงอาศัยแนวคิดในการมองความต้องการและความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับในการใช้งานและช่วยอำนวยประโยชน์ รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของ Ubiquitous Computing
1. มนุษยเอาชนะความบกพรองทางรางกาย
คอมพิวเตอรอาจเปลี่ยนแปลงลักษณะการรับรูและประสาทสัมผัสของผูที่บกพรองทางรางกายไดยกตัวอยางเชน ชาวอเมริกันสวนหนึ่งมีปญหาทางสายตาอยางรุนแรง ซึ่งปญหานี้มิอาจแกไขไดดวยแวนตาธรรมดา Ubiquitous Computing ของ MIT แกปญหาโดยใชคอมพิวเตอรขนาดเล็กที่ออกแบบเปนแวนตาซึ่งติดกลองดิจิตอลและจอแสดงผลใหผูปวยใสเปน wearable computer นอกจากเทคโนโลยีเกี่ยวกับแสงแล้ว Ubiquitous Computing ยังประยุกต์กับเสียงไดดวย
2. ระบบการเก็บขอมูลที่สะดวกและแมนยําบอยครั้งที่มนุษยมีปญหาในการจําขอมูลที่แนชัดไมไดโดยเฉพาะอยางยิ่งขอมูลที่เปนตัวเลขดวยเหตุนี้ MIT MediaLab ไดพัฒนา Remembrance Agent
ซึ่งเปนเครื่องชวยจําคลายๆกับอุปกรณ PDAใน ปจจุบันเพียงแตอุปกรณดังกลาวเปนอุปกรณที่สวมใสไดและเชื่อมเขากับฐานขอมูลผานระบบWirelessNetworkเมื่อใกลถึงเวลานัดหมายก็จะเปลงเสียงเตือนและยังสามารถเชื่อมกับอุปกรณแวนตาเพื่อแสดงขอมูลสําคัญที่เราตองการใหปรากฏซึ่งการใชงานนั้นใชการสั่งงานดวยเสียง
http://quantumcinema.blogspot.com/2008/01/ubiquitous-computing.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น